วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

การเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้ PONG MODEL



  ผลการดําเนินการและประโยชน์ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เด็กได้ลงมือกระทํา และได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงโดยผ่าน กิจกรรมที่จูงใจทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีมีความเชื่อมั่นกระตือรือร้นต่อการเรียนสามารถนํา ความรู้ไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่นการลงมือปฏิบัติจะ ทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีทําให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบคณิตศาสตร์มีความสําคัญต่อการพัฒนา ความคิดมีแบบแผนตลอดจนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถแก้ปัญหา และนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ผล การดําเนินการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านสติปัญญา ด้วยเกมการการศึกษา โดยใช้สื่อการเรียนการ สอน เกมการศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการใช้เหตุผลการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนปรับเปลี่ยนไปในการทํากิจกรรมอื่น ๆ อาทิ เด็กสามารถ อธิบายได้ว่าเพราะเหตุจึงเกิดกลางวันกลางคืน เป็นต้น นอกเหนือจากความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ที่เห็น ได้ชัดในตัวเด็กแล้ว ยังพบว่าเด็กมีสมาธิในการทํากิจกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ ได้นานยิ่งขึ้น รู้จัดการรอคอย เกิดความอดทน ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กไทยในปัจจุบันกําลังประสบปัญหา อย่างยิ่ง การที่เด็กเกิดพัฒนาการต่าง ๆ ในทางที่ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน จึงส่งผลในภาพรวมให้เด็กมีพร้อมในการ เข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

ปัจจัยความสําเร็จ

1. ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนคณะครูและผู้ปกครองนักเรียนปฐมวัย เป็นอย่างดี

2. ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดีในการร่วมปฏิบัติกิจกรรมทําให้เด็กๆ เกิด ทักษะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

3. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนจัดหาสื่อเพื่อใช้ ในการจัดกิจกรรม

ภาษาอังกฤษปฐมวัยโดยใช้รูปแบบ Storytelling Paper Crafts

 การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบ Storytelling Paper Crafts

   กระบวนการ PDCA จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบ Storytelling Paper Crafts

  Plan ขั้นเตรียมการ

  Do ขั้นดำเนินการ

 Check ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน

 Act ขั้นสรุปและรายงาน/พัฒนา

    การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบ Storytelling Paper Crafts เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนได้สนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

    นักเรียนมีความสุข และสนุกสนานในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสังเกตจากการเรียนรู้ในห้องเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักเรียน การจัดแสดงผลงานในห้องเรียน และสอบถามกับผู้ปกครองของนักเรียน

การศึกษาปฐมวัยยุคใหม่ ด้วย COVID MODEL โรงเรียนวัดตุ๊กตา

 การศึกษาปฐมวัยยุคใหม่ ด้วย COVID MODEL โรงเรียนวัดตุ๊กตา


     ผลการดำเนินการจัด การศึกษาปฐมวัยยุคใหม่ ด้วย COVID MODEL การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีการขับเคลื่อน เด็กได้รับการจัดประสบการณ์ และพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนานาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาของเด็กให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพเหมาะสมกับวัย

1. ผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณ

    นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/2 ร้อยละ 80 มีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้

2. ผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ

    จากการจัดการศึกษาปฐมวัยยุคใหม่ด้วย COVID MODEL ทำให้นักเรียนระดับชั้นมีความสุขกับการเรียนส่งผลให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาของเด็กให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพเหมาะสมกับวัย

โยคะสร้างวินัยใฝ่คุณธรรมเด็กปฐมวัยด้วย Pongsri Model

 โยคะสร้างวินัยใฝ่คุณธรรมเด็กปฐมวัยด้วย Pongsri Model


     ผลการดำเนินการโยคะสร้างวินัยใฝ่คุณธรรมเด็กปฐมวัยด้วย Pongsri Model ของโรงเรียนวัดตุ๊กตา ประสบผลสำเร็จ มีผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการเทียบจากผลการประเมินพฤติกรรมด้านวินัย ของเด็กปฐมวัย ในปีการศึกษา 2564 กับปีการศึกษา 2565 พบว่ามีพัฒนาการสูงขึ้น โดยในปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินพฤติกรรมด้านวินัยของเด็กปฐมวัยอนุบาล 2 และ อนุบาล 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.25 อยู่ในระดับพอใช้ และในปีการศึกษา 2565 มีผลการประเมินพฤติกรรมด้านวินัยของเด็กปฐมวัยอนุบาล 2 และ อนุบาล 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.15 อยู่ในระดับดี และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการมีวินัยของเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา 2565 จากการตอบแบบสอบถามผู้ปกครองจำนวน 40 คน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 เฉลี่ยร้อยละ 92.84 อยู่ในระดับดีมาก ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่กำหนดไว้ พบว่าเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 มีวินัยในตนเองเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติกิจกรรมโดยครูออกคำสั่งน้อยลง เด็กมีความกระตือรือร้น เห็นประโยชน์คุณค่าจากการได้เรียนรู้ และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในด้านวินัยและด้านอื่น ๆ ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการเรียนรู้ต่างๆ มากขึ้น ส่งผลดีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ และเป้าหมายของกิจกรรมส่งผลดีต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย